
รายละเอียด
มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจทักษะและทัศนคติที่ดีต่อวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนตระหนักถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพจิตวิทยา สามารถใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการวิจัยและปฏิบัติงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาและการพัฒนาด้านความสำคัญระหว่างบุคคลในองค์การ สามารถปฏิบัติงานทางวิชาชีพจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้อย่าง เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน สามารถนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายวิชาชีพ และทำงานร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถดำรงชีวิตและปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้อย่างดี
จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็นการผลิตบัณฑิตที่มีจุดเด่นด้านบุคลิกภาพในความเป็นสวนดุสิต
- ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้มีคุณธรรมจรรณยาบรรณในวิชาชีพ
- เป็นการผลิตบัณฑิตให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ มีสุขภาพจิตดี มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับคนรอบข้าง
โครงการความร่วมมือกับ หน่วยงาน หรือสถานที่ประกอบการต่างๆ
- โครงการบริการวิชาการจิตวิทยาสู่สังคม
- โครงการส่งเสริมคุณธรรมว่าที่นักจิตวิทยาด้วยจิตอาสา
ดร. สฤษดิ์ ศรีโยธิน
สส.ด. การบริหารสังคม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท:
วท.ม. จิตวิทยาอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี:
วท.บ. จิตวิทยา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปทุมพร โพธิ์กาศ
วท.ม. จิตวิทยาอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี:
วท.บ. จิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศุภมิตร บัวเสนาะ
ศศ.ม. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาตรี:
วท.บ. จิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อัมพร ศรีประเสริฐสุข
กศ.ม. จิตวิทยาพัฒนาการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาตรี:
กศ.บ. ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์
กศ.ม. จิตวิทยาและการแนะแนว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาตรี:
ค.บ. สุขศึกษา
สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
1. เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ งานด้านสรรหา-ว่าจ้าง งานบริหารค่าจ้าง การจัดการสวัสดิการ การประเมินการปฏิบัติงาน และงานด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์หรือพนักงานสัมพันธ์
2. เจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ งานออกแบบโปรแกรมการฝึกอบรม งานด้านบริหารโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากร งานด้านการประเมินผลการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3. นักวิชาการด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้แก่ การวัดและการทดสอบทางจิตวิทยาในองค์การ การดำเนินการสอบและแปลผลการการทดสอบ
4. ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
5. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์พฤติกรรมองค์การและพฤติกรรมผู้บริโภค
สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (กรุงเทพฯ)
